• ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u]
    Nov 17 2024
    ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไปA: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง- “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ = ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม = ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4- เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ 2. เจริญอิทธิบาท 4 (1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน (2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ (3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ (4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า- ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้ 3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ - "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา- “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม- “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่ (1) กามฉันทะ = ความพอใจในกาม สิ่งของภายนอก (2) พยาบาท = ความคิดอาฆาต ปองร้าย ให้เขาได้ไม่ดี (3) ถีนมิทธะ = ความง่วงซึม ความหดหู่ ท้อแท้ท้อถอย (4) อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกวิจารณ์ (5) วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลง ไม่ลงใจ 4. ลดความเครียดในการทำงาน - วิธีสังเกตว่ามีความเครียดในการทำงาน คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น- วิธีคลายความเครียด เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนสายตา ออกกำลังกาย สวดมนต์ นอน เดิน - ...
    Show more Show less
    57 mins
  • การเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์ [6746-1u]
    Nov 10 2024
    Q1: ชีวิตที่พลิกผันกรณี The iconA: เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เห็น1. เห็นโลกธรรม ความไม่เที่ยง คือ สุขทุกข์ ได้ลาภเสื่อมลาภ สรรเสริญนินทา2. เห็นการตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อมีสุข ไม่ได้สังเกตเห็นความไม่เที่ยงของความสุขนั้น เมื่อความสุขนั้นเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดทุกข์มาก3. ค่านิยมของคนสมัยนี้ คือ ความสำเร็จทางวัตถุ ทางกายภาพ แต่ค่านิยมของคนสังคมที่ควรจะมี คือ ความเป็นผู้มีศีล ซึ่งเครื่องหมายของผู้มีศีลคือ ดูว่าเมื่อถูกกระทำ แนวความคิด การกระทำทางกาย คำพูด เป็นไปในทางที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีโจรเสื้อนอก คือ สร้างภาพภายนอกว่าเป็นคนดีแต่ความจริงกำลังหลอกคนอื่นอยู่ เราจึงต้องป้องกันตัวเราเอง ด้วยการเข้าใจความไม่เที่ยงของสุขทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ได้เร็ว ถือเป็นบทเรียน ไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่อาฆาตใคร Q2: การเทศน์ของพระสงฆ์A: ด้านภายนอก: ไม่เทศน์ให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมในการฟังธรรม เช่น ถืออาวุธในมือ สวมหมวก สวมรองเท้า อยู่ในที่สูงกว่า หรือแสดงถึงความไม่เคารพ- ด้านเนื้อหาในการเทศน์: ไม่พูดเรื่องโลก ให้พูดเรื่องอริยสัจ 4 - การประทุษร้ายสกุล เป็นอาบัติของพระข้อหนึ่งหากมีคนมาโจทก์ คือ การทำให้บุคคลนั้นมาศรัทธาในตัวเองคนเดียวมากกว่าศรัทธาในระบบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์- ปัจจุบันมีการตัดคลิปบางช่วงของการเทศน์ จึงควรฟังเทศน์ทั้งหมด ไม่ฟังฉาบฉวย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดQ3: ฆราวาสติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่A: ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม ให้ “ยกย่อง” บุคคลที่ควรยกย่อง ในสิ่งที่ควรยกย่อง และ “ติเตียน” บุคคลที่ควรติเตียน ในสิ่งที่ควรติเตียน - คนเราไม่ได้ดีหรือชั่วโดยส่วนเดียวทั้งหมด มีทั้งเรื่องที่ทำดีและทำไม่ดี ดังนั้น จะเหมาว่าเขาดีหรือไม่ดีไม่ได้ จึงต้องแยกแยะแต่ละเรื่อง- การติเตียนไม่ใช่การด่าบริภาษ (ด่าด้วยคำหยาบคาย จิตอาฆาต ต้องการให้เขาได้ไม่ดี) การติเตียนจะดูไปตามแต่ละสถานการณ์ ด้วยจิตเมตตา ชี้โทษให้เห็นว่าไม่ตรงตามคำสอนอย่างไร- การยกย่องไม่ใช่การสรรเสริญเยินยอ การยกย่อง คือ การพูดถึงอานิสงส์ในสิ่งที่เขาทำดีนั้นQ4: การทำคุณไสยA: ...
    Show more Show less
    56 mins
  • ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาดและสมบัติ 3 ประการ [6745-1u]
    Nov 3 2024
    ช่วงไต่ตามทาง : ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาด- คุณแม่สมบูรณ์อายุ 80 ปี ทางด้านร่างกายได้รับการดูแลอย่างดีจากลูกหลาน แต่ด้านจิตใจมีความร้อนใจ มีความกังวลใจในลูกหลานมาก จึงให้สมาทานพระรัตนตรัยและสมาทานศีล เมื่อมีศีลแล้วก็จะไม่มีความร้อนใจ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ จึงให้ภาวนา “พุทโธ” เพื่อเป็นหลักกำหนดสติ ให้จิตมีสติตั้งไว้ พร้อมกับให้มีปัญญาร่วมด้วย ศีลกับปัญญาจะทำให้เกิดสมาธิได้- วิธีขจัดความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ (1) กังวลใจในสิ่งของ = ให้เข้าใจว่า “สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง” ให้คลายความกังวลผูกพันต่อสิ่งนั้น (2) กังวลใจในบุคคล = ให้เข้าใจว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ให้คลายความกังวลในบุคคลนั้น (3) กังวลใจในกายของตน = ให้เข้าใจว่า “กายนี้เป็นของที่เกิดมาจากธาตุดินน้ำลมไฟ มีความแตกไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา อย่าไปยึดถือกังวล เปรียบเหมือนภาชนะหม้อดินที่เก่าแล้วมีรอยรั่ว หันไปเอาภาชนะทองคำดีกว่าซึ่งเปรียบได้กับกายของเทวดา” (4) กังวลใจในชาติภพหน้าของตน = ให้เข้าใจว่า “ถ้ามีกรรมดี ก็จะไปในที่ที่ดี” ก็จะไปสวรรค์ได้ ให้นึกถึงทาน นึกถึงศีลที่ตนเคยทำไว้ และหากเจริญ “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ก็จะไปพรหมโลกได้ เมื่อจิตชุ่มเย็นไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว ให้เห็นว่า “กายและใจ รูปและนาม ในตัวของเรา มันไม่ใช่ของเรา ให้ปล่อยวาง”- การทำความเข้าใจเป็นขั้นตอนในเรื่องเหล่านี้ ผลที่ตามมาคือจะมีธรรมะเป็นเครื่องป้องกันความขลาดทำให้จิตไม่มีความกลัว ไม่มีความกังวลได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : สมบัติ 3 ประการ- ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ยังมีสมบัติอื่นที่มีคุณค่ามากกว่า และคุณค่านั้นไม่แปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม ความเข้าใจในเรื่องคุณค่าของสมบัตินี้จะทำให้เราไม่ถูกหลอก- สมบัติแบ่งเป็น 3 ระดับ (1) มนุษยสมบัติ (เสื่อมได้) = รัตนะ 7 อย่าง ฤทธิ์ 4 อย่าง ได้มาโดยการทำมาหากินหรือลงทุน (2) ทิพยสมบัติ (เสื่อมได้) = อาหารทิพย์ อากาศเย็นสบายตลอดเวลา ได้มาโดยการทำทาน ...
    Show more Show less
    58 mins
  • แก้อาการเสพติด Social Media [6744-1u]
    Oct 27 2024
    Q1: เสพติดการเล่นมือถือ social media แก้อย่างไรA: อาการเสพติด ไม่ว่าอะไรก็ตาม คือ การเสพติดเวทนา (ความรู้สึกที่เป็นสุข) วิธีแก้ในทางธรรมะ คือ ต้องมีปัญญาเห็นว่า ตัณหาทำให้เกิดความพอใจในเวทนานั้น และเห็นตามความเป็นจริงว่า “เวทนาเป็นของไม่เที่ยง” ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีในเวทนานั้นได้- การเสพติด Social Media แยกเป็น 2 ระดับ (1) ระดับความเพลินที่ยังควบคุมตัวเองได้ = แก้โดยวางแผนล่วงหน้าและแบ่งเวลาให้ชัดเจนว่าจะใช้เวลาทำสิ่งใดกี่นาทีโดยไม่เล่นมือถือ การวางแผนล่วงหน้าจะทำให้มีกำลังใจในการทำสิ่งนั้น ณ เวลานั้น ซึ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอก็จะเกิดความมีระเบียบวินัยขึ้นมา (2) ระดับความเพลินที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ถ้าไม่ได้เล่นจะอารมณ์เสีย ก้าวร้าว = แก้โดยต้องงดการเล่นเลย ร่วมกับปรึกษาแพทย์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยมาทำความเข้าใจว่าเวทนาเป็นของไม่เที่ยง- การเสพติด Social Media เป็นการเสพติดความรู้สึกที่เป็นสุข อาจมีปัญหาอื่นที่เป็นสิ่งไม่น่าพอใจแฝงอยู่ก็เป็นได้ เช่น ปัญหาครอบครัว การเรียน ความสัมพันธ์ เป็นต้น ก็ต้องหาสาเหตุแล้วตามไปแก้ปัญหาเหล่านั้น Q2: วิธีสร้างวินัย ไม่ให้ผัดวันประกันพรุ่งA: ต้องใช้สมาธิ + อิทธิบาท 4 - ให้สำรวจตัวเองว่าช่วงเวลาใดที่จะมีสมาธิมาก ก็ใช้ช่วงเวลานั้นจดจ่อกับการทำงาน- อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมให้การงานบรรลุผลสำเร็จได้ ช่วยให้ไม่ผัดวันประกันพรุ่งได้ Q3: วิธีสร้างพลังจดจ่อในงานA: ต้องใช้การตั้งเป้าหมายประกอบกับสมาธิ + อิทธิบาท 4- โดยตั้งเป้าหมายในเรื่องประโยชน์ที่จะได้รับทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่าย ความดี คุณธรรม ปัญญา ความอดทน ความเมตตา เป็นต้น เช่น การมีบ้าน เป้าหมายไม่ใช่บ้าน แต่เป้าหมาย คือ เพื่อความรัก ความเมตตาต่อคนในครอบครัว- หลีกเลี่ยงการตั้งเป้าหมายทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เพราะสมาธิไม่อาจตั้งอยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้ - สมาธิ กับนิวรณ์ (ความสุขที่เกิดจากกาม) ไม่อาจเข้ากันได้ Q4: โดนนินทาลับหลัง ควรทำอย่างไรA: คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก ให้เอาชนะความเท็จด้วยความจริง - ถ้าถูกบัณฑิตนินทา เข้าใจผิด = ...
    Show more Show less
    57 mins
  • ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์ [6743-1u]
    Oct 20 2024
    ช่วงไต่ตามทาง: - ผู้ฟังท่านนี้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เมื่อปี 2560 สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ได้ปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิ จิตเกิดความสงบ ได้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบุญกุศลของตนขอให้มีงานเข้ามา ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์ มีงานเข้ามาเป็นโครงการใหญ่ หลังจากนั้นชีวิตก็พลิกผันไปในทางที่ดีหลายเรื่อง มีเงินเหลือเก็บ- คนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ไม่คดโกง บุญก็จะส่งผล ให้สามารถรักษาตัวได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์ - ธรรมะ 14 ประการนี้ จะทำให้ผู้ครองเรือนซึ่งยังยินดีด้วยเงินทองไม่ตกเป็นทาสของเงิน รู้จักใช้เงินให้เป็น และกำจัดอะไรที่ไม่ดีเกี่ยวกับเงินทองออกไปได้1. อาหารของโภคทรัพย์ = ต้องมีความขยัน จะทำให้มีโภคทรัพย์มากขึ้น อย่าขี้เกียจ 2. บริหารจัดการทรัพย์ = สัมปทา 4 ได้แก่ การทำการงานปกติด้วยความขยัน, รักษาทรัพย์ (เก็บออม ลงทุน), มีกัลยาณมิตร (ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา) และมีสมชีวิตา (ใช้จ่ายทรัพย์อย่างเหมาะสม มีความสมดุล รายรับต้องท่วมรายจ่าย)3. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) บริหาร 3 เวลา = ทำการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเช้า กลางวัน เย็น4. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) มีตาดี 3 ตา = เห็นว่าสิ่งใดจะขายได้กำไร, ฉลาดในการซื้อขายสิ่งที่ตนจะพึงซื้อขายได้ และถึงพร้อมด้วยบุคคลที่จะเป็นที่พึ่งได้5. ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ (ปิดทางน้ำออก) = อบายมุข 6 ได้แก่ ดื่มน้ำเมา, เที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน, การพนัน, คบคนชั่วเป็นมิตร, ความเกียจคร้าน และการเที่ยวดูมหรสพ หรือ อบายมุข 4 ได้แก่ นักเลงเจ้าชู้, นักเลงสุรา, นักเลงการพนัน และคบเพื่อนชั่ว6. ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ (เปิดทางน้ำเข้า) = มีสัมปทา 4 และปิดทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์7. ตระกูลที่มีความมั่นคง มั่นคั่ง ตั้งอยู่ได้นาน = มีองค์ประกอบ 4 ข้อ คือ แสวงหาพัสดุที่หายไป, ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า, รู้จักประมาณในการบริโภค และแต่งตั้งบุรุษหรือสตรีผู้มีศีลให้เป็นแม่เจ้าเรือนหรือพ่อเจ้าเรือน8. โทษของการมีโภคทรัพย์ = โทษ 5 อย่าง ได้แก่ ถูกทำลายได้ด้วยไฟหรือน้ำ ถูกเอาไปได้ด้วยพระราชา โจร หรือทายาทที่ไม่เป็นที่รัก9. ...
    Show more Show less
    57 mins
  • ระบบของกรรมกับ "การขโมยดวง" [6742-1u]
    Oct 13 2024
    Q1: ขโมยดวงA: บุญบาป ขโมยกันไม่ได้ ใครทำคนนั้นได้ ทำให้กันก็ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าคงแบ่งบุญให้ทุกคนพ้นทุกข์ไปแล้วการเสริมดวง (ดวงดี) = ทำความดี มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นว่า สุขทุกข์เกิดกับตนโดยมีเหตุปัจจัย เช่น กรรมเก่า การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ดินฟ้าอากาศ ผู้อื่นทำร้าย ปัญหาสุขภาพ)การขโมยดวง (ดวงตก) = ทำความชั่ว คบเพื่อนชั่ว มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นว่า สุขทุกข์เกิดจากมีผู้เป็นใหญ่คอยบันดาลให้เกิดกับตนเท่านั้น หรือเกิดจากกรรมเก่าของตนเท่านั้น หรือกรรมเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุปัจจัย)ไม่ว่าจะเป็นการเสริมดวงหรือการขโมยดวง อยู่ที่การกระทำของเราว่าทำดีหรือทำชั่ว ให้มั่นใจในระบบของ “กรรม” ถ้าอยากได้สุข ไม่อยากได้ทุกข์ ก็ต้องสร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะสม โดยการทำดี พูดดี คิดดี ซึ่งเราสามารถทำได้โดยไม่ต้องให้ใครมาพยากรณ์กรณีเจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่น (กายหยาบ กายละเอียด) วิธีอยู่อย่างไรให้ผาสุก ก็ต้องมั่นใจในเรื่องของ “กรรม” ที่ถูกต้องQ2: การแสดงธรรมโดยเคารพเพื่อนผู้ประพฤติธรรมA: ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หลักการแสดงธรรมให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายมี 5 ประการแสดงไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้ขาดความอ้างเหตุผล = มีที่มา แหล่งอ้างอิงอาศัยความเอ็นดู = อนุเคราะห์ให้เขาพ้นจากความทุกข์ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม = ไม่หวังลาภสักการะจากการแสดงธรรมไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น = ไม่ยกตนข่มผู้อื่นหากแสดงธรรมไม่ตรงตามหลักการข้างต้น ผู้แสดงธรรมก็จะถูกติเตียน Q3: บรรลุธรรมโดยไม่ฟังธรรม ได้หรือไม่?A: พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์ในยุคนี้ สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด”การบรรลุธรรม (มรรคผล) มี 3 ระดับระดับสัมมาสัมพุทธเจ้า = บรรลุธรรมได้ด้วยพระองค์เอง ไม่ต้องมีผู้บอกผู้สอน และสามารถสอนผู้อื่นให้บรรลุธรรมตามได้ระดับปัจเจกพุทธเจ้า = บรรลุธรรมได้ด้วยพระองค์เอง ไม่ต้องมีผู้บอกผู้สอน แต่จะสอนผู้อื่นให้บรรลุธรรมตามไม่ได้ ระดับอนุพุทโธ = บรรลุตามที่พระพุทธเจ้าสอน ซึ่งต้องมีการได้ฟังธรรม (ได้ยิน ...
    Show more Show less
    53 mins
  • ธรรมะเพื่อการแก้ปัญหาทางการเงิน [6741-1u]
    Oct 6 2024
    ช่วงไต่ตามทาง: ปลดหนี้ - ผู้ฟังท่านนี้ถูกเพื่อนชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจเสริมความงาม ตกลงแบ่งกำไรให้ 40% จึงไปกู้เงินเพื่อมาลงทุนเพิ่มเกือบ 10 ล้านบาท ด้วยความเชื่อใจที่เป็นเพื่อนกันจึงไม่ได้ทำเอกสารหลักฐานอะไรไว้ ผ่านไป 2 ปี พบว่าธุรกิจนั้นไม่มีส่วนที่เพื่อนลงทุนเลย แต่ทรัพย์สินของธุรกิจกลับเป็นชื่อเพื่อนทั้งหมด เมื่อกิจการถูกปิด สรุปมีหนี้ 15 ล้านบาทที่ผู้ฟังท่านนี้ต้องชดใช้ให้เจ้าหนี้ ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลา 3 เดือน ติดต่อดำเนินคดีกับอีกฝ่ายแต่ไม่มีวี่แววว่าจะได้รับการชดใช้เงินคืน จึงตัดใจไม่ดำเนินคดีต่อแล้วหันมาตั้งหน้าตั้งตาทำงานใหม่ เจรจากับเจ้าหนี้ ผ่านไปไม่ถึงปี ก็สามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ - ได้เรียนรู้ว่า เพราะความโลภ ความไม่รอบคอบ และความประมาท จึงเกิดเหตุการณ์นี้ การเป็นคดีความ ใช้เวลามาก แต่เมื่อตัดใจเอาเวลาไปทุ่มเทกับการทำงานด้วยจิตใจที่ไม่มีความโกรธ ไม่มีความอาฆาตคิดร้ายต่อเพื่อนที่โกง มีเมตตา มีอุเบกขา ทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แม้ยังมีหนี้ที่ต้องชดใช้ แต่จิตใจไม่เป็นอะไร สถานการณ์ก็พลิกผันทำงานหาเงินใช้หนี้ 15 ล้านบาท ได้ภายใน 1 ปี- ผู้ฟังอีกท่านหนึ่ง เรียนจบเป็นหนี้ กยศ. และมีหนี้ทางครอบครัวที่ต้องช่วยชดใช้เป็นล้าน จึงประหยัดค่าใช้จ่าย เอาข้าวไปกินที่ทำงาน เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ลดสิ่งที่ฟุ่มเฟือย เลือกซื้อสิ่งที่จำเป็นมากกว่าสิ่งที่อยากได้โดยใช้ส่วนลด ทำงานอื่นเพิ่ม ใช้เวลา 2-3 ปี ก็ปลดหนี้ทั้งหมดได้และมีเงินเก็บ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: การแก้ปัญหาทางการเงิน ในการครองเรือน เงินทองเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงปัจจัย 4 ให้เป็นไปได้ ปัญหาทางการเงิน แก้ไม่ได้ด้วยความอยากหรือความตระหนี่ และไม่อาจสำเร็จได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง การปฏิบัติตนต่อสถานะทางการเงิน 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง : ยามมีเงิน (1) ต้องแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ = เพื่อป้องกันความตระหนี่ คือ 1. ใช้จ่าย 2. เก็บออม 3. สงเคราะห์ 4. ทำบุญ(2) อย่าเพลิดเพลิน ลุ่มหลง ยินดีพอใจ ในเงินที่มี (ราคะ) = จะเป็นเหตุให้เกิดความยึดถือและความโลภ ...
    Show more Show less
    59 mins
  • ปัญญาส่องใจจากภัยน้ำท่วม [6740-1u]
    Sep 29 2024
    Q1: ปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบA: การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องไม่เบียดเบียนทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนเรา ส่วนเขา ส่วนร่วม และส่วนรวม การกระทำใดเป็นการเบียดเบียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) - การขจัดปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ ทำให้นกมาทำรัง มีมูลนก ต้องทำความสะอาดเพิ่ม ลำพังเพียงคาถาบทใดบทหนึ่งจะทำให้สิ่งใดสำเร็จขึ้นมาได้ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ความเข้าใจที่ถูกคือต้องอาศัยทั้งกาย วาจา และใจ ที่เป็นไปในทางเดียวกัน สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงจะสำเร็จขึ้นมาได้ (1) ทางกาย (ทำดี) = ทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้ เหมือนทำงานจิตอาสากวาดลานวัด (2) ทางวาจา (ปิยวาจา) = พูดคุยทำความเข้าใจกันด้วยปิยวาจา (3) ทางใจ (สัมมาทิฏฐิ+แผ่เมตตา) = ถ้ามีมุมมองว่าถูกเบียดเบียน ก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองว่าเรามีจิตอาสาทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้เหมือนพระปุณณมันตานีบุตร ก็จะเป็นบุญ จึงต้องปรับที่มุมมองของเรา และเจริญเมตตาแผ่ให้ทั้งเพื่อนบ้านและนกเหล่านั้น จะทำให้เมื่อเรามองเห็นจะไม่ขัดเคืองใจ มีความชุ่มเย็นอยู่ในใจ- อย่ามองว่าปัญหานี้เกิดจากกรรมเก่าโดยส่วนเดียว ให้ทำสิ่งดีขึ้นมาใหม่ สร้างสิ่งที่เป็นกุศล ละสิ่งที่เป็นอกุศล (ความคิดเบียดเบียน) ด้วยการแผ่เมตตา แม้สถานการณ์จะไม่เปลี่ยนไป แต่เราจะไม่ทุกข์เท่าเดิม ความทุกข์จะผ่อนคลายลง Q2: ประสบภัยน้ำท่วมเป็นกรรมเก่าหรือไม่A: สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ทั้ง 3 อย่าง ทั้งจากตัวเราทำเอง กรรมเก่า หรือผู้ที่มีฤทธิ์บันดาล- มิจฉาทิฏฐิ = ความคิดสุดโต่ง (1) สุขหรือทุกข์เกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว – จิตจะน้อมไปในทางที่ไม่ทำอะไร (2) การอ้อนวอนร้องขอต่อสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นจะสำเร็จโดยส่วนเดียว (3) สิ่งใดสำเร็จได้ด้วยการกระทำของตนเท่านั้น – หากทำแล้วไม่สำเร็จก็จะเกิดความท้อใจ เสียใจได้- สัมมาทิฏฐิ = ทางสายกลาง ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัย ไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์ สำเร็จก็ไม่ยึดติด มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำสิ่งที่ควรทำ ละสิ่งที่ควรละ-ในช่วงน้ำท่วม (1) ช่วยเหลือกัน (2) เข้าใจโลกด้วยปัญญา มีสติ = เห็นด้วยปัญญาว่าสุขก็มี ...
    Show more Show less
    55 mins