1 สมการชีวิต

By: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
  • Summary

  • นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    2024 panya.org
    Show more Show less
activate_Holiday_promo_in_buybox_DT_T2
Episodes
  • ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u]
    Nov 17 2024
    ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไปA: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง- “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ = ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม = ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4- เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ 2. เจริญอิทธิบาท 4 (1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน (2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ (3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ (4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า- ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้ 3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ - "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา- “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม- “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่ (1) กามฉันทะ = ความพอใจในกาม สิ่งของภายนอก (2) พยาบาท = ความคิดอาฆาต ปองร้าย ให้เขาได้ไม่ดี (3) ถีนมิทธะ = ความง่วงซึม ความหดหู่ ท้อแท้ท้อถอย (4) อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกวิจารณ์ (5) วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลง ไม่ลงใจ 4. ลดความเครียดในการทำงาน - วิธีสังเกตว่ามีความเครียดในการทำงาน คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น- วิธีคลายความเครียด เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนสายตา ออกกำลังกาย สวดมนต์ นอน เดิน - ...
    Show more Show less
    57 mins
  • การเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์ [6746-1u]
    Nov 10 2024
    Q1: ชีวิตที่พลิกผันกรณี The iconA: เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เห็น1. เห็นโลกธรรม ความไม่เที่ยง คือ สุขทุกข์ ได้ลาภเสื่อมลาภ สรรเสริญนินทา2. เห็นการตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อมีสุข ไม่ได้สังเกตเห็นความไม่เที่ยงของความสุขนั้น เมื่อความสุขนั้นเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดทุกข์มาก3. ค่านิยมของคนสมัยนี้ คือ ความสำเร็จทางวัตถุ ทางกายภาพ แต่ค่านิยมของคนสังคมที่ควรจะมี คือ ความเป็นผู้มีศีล ซึ่งเครื่องหมายของผู้มีศีลคือ ดูว่าเมื่อถูกกระทำ แนวความคิด การกระทำทางกาย คำพูด เป็นไปในทางที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีโจรเสื้อนอก คือ สร้างภาพภายนอกว่าเป็นคนดีแต่ความจริงกำลังหลอกคนอื่นอยู่ เราจึงต้องป้องกันตัวเราเอง ด้วยการเข้าใจความไม่เที่ยงของสุขทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ได้เร็ว ถือเป็นบทเรียน ไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่อาฆาตใคร Q2: การเทศน์ของพระสงฆ์A: ด้านภายนอก: ไม่เทศน์ให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมในการฟังธรรม เช่น ถืออาวุธในมือ สวมหมวก สวมรองเท้า อยู่ในที่สูงกว่า หรือแสดงถึงความไม่เคารพ- ด้านเนื้อหาในการเทศน์: ไม่พูดเรื่องโลก ให้พูดเรื่องอริยสัจ 4 - การประทุษร้ายสกุล เป็นอาบัติของพระข้อหนึ่งหากมีคนมาโจทก์ คือ การทำให้บุคคลนั้นมาศรัทธาในตัวเองคนเดียวมากกว่าศรัทธาในระบบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์- ปัจจุบันมีการตัดคลิปบางช่วงของการเทศน์ จึงควรฟังเทศน์ทั้งหมด ไม่ฟังฉาบฉวย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดQ3: ฆราวาสติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่A: ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม ให้ “ยกย่อง” บุคคลที่ควรยกย่อง ในสิ่งที่ควรยกย่อง และ “ติเตียน” บุคคลที่ควรติเตียน ในสิ่งที่ควรติเตียน - คนเราไม่ได้ดีหรือชั่วโดยส่วนเดียวทั้งหมด มีทั้งเรื่องที่ทำดีและทำไม่ดี ดังนั้น จะเหมาว่าเขาดีหรือไม่ดีไม่ได้ จึงต้องแยกแยะแต่ละเรื่อง- การติเตียนไม่ใช่การด่าบริภาษ (ด่าด้วยคำหยาบคาย จิตอาฆาต ต้องการให้เขาได้ไม่ดี) การติเตียนจะดูไปตามแต่ละสถานการณ์ ด้วยจิตเมตตา ชี้โทษให้เห็นว่าไม่ตรงตามคำสอนอย่างไร- การยกย่องไม่ใช่การสรรเสริญเยินยอ การยกย่อง คือ การพูดถึงอานิสงส์ในสิ่งที่เขาทำดีนั้นQ4: การทำคุณไสยA: ...
    Show more Show less
    56 mins
  • ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาดและสมบัติ 3 ประการ [6745-1u]
    Nov 3 2024
    ช่วงไต่ตามทาง : ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาด- คุณแม่สมบูรณ์อายุ 80 ปี ทางด้านร่างกายได้รับการดูแลอย่างดีจากลูกหลาน แต่ด้านจิตใจมีความร้อนใจ มีความกังวลใจในลูกหลานมาก จึงให้สมาทานพระรัตนตรัยและสมาทานศีล เมื่อมีศีลแล้วก็จะไม่มีความร้อนใจ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ จึงให้ภาวนา “พุทโธ” เพื่อเป็นหลักกำหนดสติ ให้จิตมีสติตั้งไว้ พร้อมกับให้มีปัญญาร่วมด้วย ศีลกับปัญญาจะทำให้เกิดสมาธิได้- วิธีขจัดความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ (1) กังวลใจในสิ่งของ = ให้เข้าใจว่า “สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง” ให้คลายความกังวลผูกพันต่อสิ่งนั้น (2) กังวลใจในบุคคล = ให้เข้าใจว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ให้คลายความกังวลในบุคคลนั้น (3) กังวลใจในกายของตน = ให้เข้าใจว่า “กายนี้เป็นของที่เกิดมาจากธาตุดินน้ำลมไฟ มีความแตกไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา อย่าไปยึดถือกังวล เปรียบเหมือนภาชนะหม้อดินที่เก่าแล้วมีรอยรั่ว หันไปเอาภาชนะทองคำดีกว่าซึ่งเปรียบได้กับกายของเทวดา” (4) กังวลใจในชาติภพหน้าของตน = ให้เข้าใจว่า “ถ้ามีกรรมดี ก็จะไปในที่ที่ดี” ก็จะไปสวรรค์ได้ ให้นึกถึงทาน นึกถึงศีลที่ตนเคยทำไว้ และหากเจริญ “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ก็จะไปพรหมโลกได้ เมื่อจิตชุ่มเย็นไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว ให้เห็นว่า “กายและใจ รูปและนาม ในตัวของเรา มันไม่ใช่ของเรา ให้ปล่อยวาง”- การทำความเข้าใจเป็นขั้นตอนในเรื่องเหล่านี้ ผลที่ตามมาคือจะมีธรรมะเป็นเครื่องป้องกันความขลาดทำให้จิตไม่มีความกลัว ไม่มีความกังวลได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : สมบัติ 3 ประการ- ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ยังมีสมบัติอื่นที่มีคุณค่ามากกว่า และคุณค่านั้นไม่แปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม ความเข้าใจในเรื่องคุณค่าของสมบัตินี้จะทำให้เราไม่ถูกหลอก- สมบัติแบ่งเป็น 3 ระดับ (1) มนุษยสมบัติ (เสื่อมได้) = รัตนะ 7 อย่าง ฤทธิ์ 4 อย่าง ได้มาโดยการทำมาหากินหรือลงทุน (2) ทิพยสมบัติ (เสื่อมได้) = อาหารทิพย์ อากาศเย็นสบายตลอดเวลา ได้มาโดยการทำทาน ...
    Show more Show less
    58 mins

What listeners say about 1 สมการชีวิต

Average customer ratings

Reviews - Please select the tabs below to change the source of reviews.