• หมายรู้ในทุกข์ [6747-7q]
    Nov 23 2024

    Q : อนิจเจทุกขสัญญาและสัญญา 10 คืออะไร?

    A : อนิจเจทุกขสัญญา คือ เห็นความเป็นของไม่เที่ยงในความทุกข์นั้น สามารถมองได้หลายมุม คือ หมายเอาทุกขสัญญาเป็นหลักแล้วเห็นความไม่เที่ยงในทุกข์นั้น หมายเอาคุณสมบัติของความที่เป็นทุกข์ที่ทนได้ยาก หมายเอาความไม่เที่ยงของสภาวะนั้น หมายเอาความที่ไม่ใช่ตัวตนต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองจากมุมไหน ซึ่ง ในกระบวนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็คือไม่เที่ยงอยู่แล้ว ไม่ใช่ตัวของมัน ต้องอาศัยสิ่งอื่น เปลี่ยนแปลงตามสิ่งนั้น ๆ นี่คือ “ทุกข์” เราต้องเห็นทั้งหมดในกระบวนการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจทั้งสายเกิดและสายดับ เราจึงจะสามารถเข้าใจว่า แม้กรรมเก่าก็ดับได้ เราจะเข้าใจแบบนี้ได้ ด้วยมรรค 8 / สัญญา (ความหมายรู้) 10 ประการ อยู่ในส่วนของมรรค เป็นธรรมะที่ท่านให้พระอานนท์เทศน์ให้พระคิริมานนท์ฟังในขณะที่ป่วย เมื่อได้ฟังแล้ว ก็เกิดปิติปราโมทย์ ทำให้โรคภัยของท่านหายไป ทั้งนี้ในสัญญา 10 ประการ จะไม่มีอนิจเจทุกขสัญญา

    Q : หมายรู้ที่เป็นมรรคและส่วนที่เป็นทุกข์

    A : สัญญาคือหมายรู้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนของมรรค คือ หมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกิเลสมันลดได้ ความหมายรู้นั้นเป็นมรรค ส่วนของทุกข์ คือ หมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วความยึดถือเกิดได้ ความหมายรู้นั้นคือหนึ่งในขันธ์ 5

    Q : กรรมติดจรวดเป็นอย่างไร?

    A : คือ ไม่ว่าจะทำกรรมดีหรือกรรมชั่วให้ผลทันที เกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show more Show less
    54 mins
  • ด้วยอำนาจของการผูกเวร [746-7q]
    Nov 16 2024
    Q : ลอยกระทงกับศาสนา A : ลอยกระทงเป็นประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแนวทางคำสอน คือท่านได้บัญญัติการจำพรรษาของพระภิกษุจะมี 2 ห้วงเวลา คือ 3 เดือนแรกของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากวันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา หรือ 3 เดือนท้ายของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากหนึ่งเดือนหลังจากเข้าพรรษาถึงวันลอยกระทง ซึ่งเป็นวันออกพรรษาของพรรษาหลัง Q : ผูกเวร ผูกใจ ตัดขาดไม่ข้ามชาติได้หรือไม่?A : สิ่งที่จะติดตัวเราไปข้ามภพชาติได้คือบุญและบาป ทรัพย์สินเงินทองไม่สามารถข้ามภพชาติได้ ส่วนจะมีภพหน้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด หากมีเหตุปัจจัยให้ไม่เกิดก็ไม่เกิด (พระอรหันต์) การผูกเวร แม้เราจะทำดีแล้วปฏิบัติดีแล้ว เขาก็ยังผูกเวรกับเรานั้น นั่นเป็นเรื่องของวัฏฏะ สิ่งที่เราควรทำ คือเดินตามมรรค 8 รักษาจิตให้เป็นกุศล หากเรายังมีความอยากที่จะไม่เจอเขาอีก นั่นแสดงว่าเรามีตัณหาแล้ว Q : ฟังธรรมกับการทำมาหากินเกี่ยวกันอย่างไร?A : ท่านพูดถึงดวงตา 3 ดวง คือ 1) มีดวงตาเห็นช่องทางในการหาทรัพย์ 2) ดวงตาที่หาทรัพย์ด้วยความสุจริต 3) มีดวงตาที่จะเห็นอริยสัจสี่ หากเราเห็นแค่ดวงใดดวงหนึ่งก็ไม่ได้แปลว่าผิด เพียงแต่เป็นการที่เห็นไม่รอบด้าน ซึ่งการทำมาหากินกับการฟังธรรมสามารถทำไปด้วยกันได้ อันไหนที่เราทำได้ให้ทำก่อนแล้วค่อย ๆ ทำเพิ่ม Q : สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรคืออย่างไร?A : คือสมัยที่บำเพ็ญเพียรแล้วจะได้ผลน้อย คือ 1) ความแก่ชรา 2) ความอาพาธ 3) อาหารหาได้ยาก คือคนก็จะไปตามที่ที่มีอาหารหาง่าย คนก็จะปะปนกันมาก การจะทำความเพียรทำในใจซึ่งคำสอนก็จะทำได้ยาก 4) มีภัยกำเริบ คือมีกบฏโจรปล้นเมือง 5) การที่มีสงฆ์แตกกัน ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเอาข้อเหล่านี้มาเป็นข้ออ้างในการทำความเพียร ที่ท่านพูดคือเพื่อเตือนถึงภัยในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ให้เราเร่งความเพียรในตอนนี้ เพื่อที่เมื่อเกิดภัยนั้นขึ้นแล้ว เราจะยังเป็นผู้อยู่ผาสุกได้ Q : ทำไมคนดีตายง่าย คนชั่วตายยาก?A : มันเป็นเรื่องของกรรม หากเราคิดให้เขาได้ไม่ดี เป็นความคิดที่ไม่ดี ให้เราคิดดี พูดดี ทำดี มีเมตตา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Show more Show less
    58 mins
  • สัมมาทิฐิที่เนื่องด้วยโลกและเหนือโลก [6745-7q]
    Nov 9 2024
    Q : ความหมายและความต่างระหว่างโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะA : เป็นอาบัติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ “โลกวัชชะ” คือ อาบัติที่เมื่อทำผิดพระวินัยแล้วจะเกิดอกุศลในจิตแน่นอน ส่วน “ปัณณัตติวัชชะ” คือ อาบัติทางพระบัญญัติ ที่อยู่ที่จิตขณะนั้น หากจิตขณะนั้นเป็นอกุศลจึงจะมีโทษ Q : ความหมายของ “พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบนั้น ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ เป็นของหมดจดวิเศษแล้วพระนิพพานนั้นอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ” A : พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบ หมายถึง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ หมายถึง หมู่ผู้ที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมเห็นนิพพานด้วยญาณคือปัญญา / พระนิพพานอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ หมายถึง บัณฑิตทั้งหลายเขาจะเห็นอย่างนี้เหมือนกัน Q : เปรียบเทียบการให้ทานด้วยอาหารกับ ศีล สมาธิ ปัญญา?A : การให้ทานด้วยอาหารให้ผลน้อยเพราะไม่สามารถทำได้ตลอด ไม่เหมือนกับการรักษาศีล ภาวนา ที่สามารถทำได้ตลอดเวลา ทำได้ในทุกอิริยาบถ Q : ศรัทธากับสัมมาทิฐิอันไหนมาก่อนกันA : ทั้งศรัทธาและสัมมาทิฐิ ต่างเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากเรามีศรัทธาที่เป็นสัมมาทิฐิ เราก็จะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มีความเพียร ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาได้ Q : การวางจิตเมื่อแสดงธรรมแก่ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า A : การที่เราแสดงธรรมไปตามเนื้อหาที่ท่านประกาศไว้ เราไม่ต้องกังวล ถ้าเราศึกษามาเป็นอย่างดี เพียงแต่ระวัง ไม่พูดผิด ไม่พูดกระทบตนเอง ไม่พูดกระทบผู้อื่น ไม่ว่าจะพูดให้ใครฟังก็สามารถทำได้ Q : พระอรหันต์ทำผิดได้หรือไม่?A : ท่านไม่ได้รู้ทุกเรื่อง เราสามารถแสดงความเห็นต่อท่านได้ ถ้าเราเป็นผู้น้อยก็ขอโอกาสท่าน พูดด้วยจิตที่มีเมตตา ด้วยความเคารพ นอบน้อม สิ่งไหนควรติเตียนก็ติเตียน สิ่งไหนควรยกย่องก็ยกย่อง ให้ดูที่พฤติกรรมไม่ใช่ที่ตัวบุคคล รักษาจิตของเราให้ตั้งอยู่ในกุศล Q : NO PAIN NO GAINA : มี 2 พุทธพจน์ คือ “เห็นทุกข์จึงจะเห็นธรรม” และ “ขึ้นชื่อว่าความสุขความสำเร็จแล้ว ใครๆจะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี ความสุขความสำเร็จเป็นสิ่งที่ใครๆ บรรลุได้ด้วยความลำบาก” ...
    Show more Show less
    56 mins
  • คนต่างกันเพราะกรรม [6744-7q]
    Nov 2 2024
    Q : เหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกันA : กรรมเป็นตัวจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีตกรรมทำให้คนไม่เท่ากันแม้ทำกรรมอย่างเดียวกันก็อาจได้รับผลไม่เท่ากันสิ่งที่เราควรทำ คือทำความดีให้มาก ไม่ว่าในตอนนี้เราจะได้ผลของกรรมอย่างไรให้เราหมั่นสร้างบุญกุศลทำความดี ทั้งทางกาย วาจาใจผลของกรรมที่ไม่ดีมันก็จะเบาลงๆ Q : การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยากA : ท่านเปรียบดังเต่าตาบอด อยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยน้ำ ทุกร้อยปีจะขึ้นมาหายใจ แล้วเอาหัวซุกเข้ารูได้ ความยากนี้เหมือนคนที่ไปอบายทั้ง 4 แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกนั้นยากมาก Q : ฆ่าตัวตายเป็นบาป?A : ไม่แน่ ส่วนใหญ่แล้วถือว่าไม่ดี หากฆ่าตัวตายแล้วสามารถพ้นกิเลสได้ ท่านถือว่าการตายนี้เป็นการตายที่ไม่น่าติเตียน แต่บางกรณีก็ได้รับการติเตียน เพราะไม่แยบคายมีอวิชชา Q : ความต่างระหว่างฉันทะกับตัณหาA : ฉันทะ คือ ความพอใจ มีใช้ทั้งในส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ใช้ในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมเท่านั้น เราสามารถสร้างฉันทะที่เป็นกุศล ได้ด้วยการอาศัยศรัทธาและปัญญา พอมีมีศรัทธาก็จะทำให้เกิดความเพียร ฟังธรรม ไคร่ครวญธรรม เกิดปัญญา ก็จะเกิดฉันทะที่เป็นกุศลขึ้น Q : ขจัดริษยาA : เราต้องละความอยากคือตัณหา ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเห็นคนอื่นเขาได้ดีแล้วเรายินดีกับเขาเราก็จะละความอิจฉาริษยาไปได้ Q : หลงตนเพราะอะไร?A : เพราะเราไม่มีวิชชาคือความรู้ ที่จะแยกได้ว่า สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ความรู้สึกที่ว่าตัวเราของเรา มันจึงมาจากอวิชชา เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุ เราจะมีความรู้แยกแยะถูกผิดได้ เราต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เราจึงจะมีวิชชา (ความรู้) และวิมุต (ความพ้น) ได้ Q : ความจริงกับความเชื่อA : ตัณหาขันธ์ 5 มรรค 8 ทั้งหมดนี้ ไม่เที่ยงเหมือนกัน เราต้องรู้จักแยกแยะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน กิจที่เราควรทำคือสิ่งไหนที่เป็นอกุศลเราต้องละ ขันธ์ 5 เราต้องยอมรับ มรรค 8 เราควรทำให้มาก ทำให้เจริญ เพราะมันประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ถ้าเราไม่ทำแล้วมันจะพาเราไปทางเสื่อม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Show more Show less
    55 mins
  • จิตเกิดได้ดับได้ [6743-7q]
    Oct 26 2024

    Q : จิตอยู่ที่ไหนในนิพพาน?

    A : ท่านกล่าวไว้ว่า หลังจากท่านปรินิพพานไปแล้ว จะไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย เปรียบเหมือนกับเทียน ที่พอเปลวเทียนมันหมด ไส้ก็หมด ดับไปหมดแล้ว เราก็จะไม่เห็นเปลวไฟอีกแล้ว เพราะมันดับไปแล้ว

    Q : จิตที่วนเวียนไปเกิดใหม่อยู่นี้ ล้วนมาจากจิตเดิมความเข้าใจนี้ถูกต้องหรือไม่?

    A : ไม่ถูก เพราะมันเป็นของเกิดได้ดับได้ หากมันมีเหตุให้เกิดมันก็เกิด หากมีเหตุที่มันจะดับมันก็ดับ ต้องเข้าใจให้ถูก เพราะหากหากเราคิดว่ามันมีอยู่ นั่นคือเราเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอัตตา ซึ่งมันไม่ถูก

    Q : การระลึกชาติคือจิตเดิมใช่หรือไม่?

    A : เป็นญาณหยั่งรู้อดีต ที่เรียกว่า “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สิ่งที่สำคัญที่เราควรต้องเห็น คือ เห็นโทษของการเกิด หากเรายังยินดีในการเกิด เราก็จะไม่สามารถหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้ได้

    Q : จะบรรลุธรรมได้จำเป็นต้องถือศีลแปดหรือไม่?

    A : ขึ้นอยู่ว่าเป็นอริยะบุคคลขั้นไหน หากเป็นขั้นโสดาบันหรือสกิทาคามี ศีล 5 ก็ได้ หากเป็นอนาคามีหรืออรหันต์ ต้องศีล 8 ขึ้นไป แต่ไม่ว่าขั้นไหนล้วนดีทั้งหมด เพราะหากเป็นขั้นผลแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน และจะบรรลุมรรคผลนิพพานในชาติสุดท้าย

    Q : เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพมีบาปหรือไม่ อย่างไร?

    A : ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ว่าใช้เกณฑ์อะไร หากใช้เกณฑ์ของศีล 5 ก็ไม่ผิดศีล เพราะไม่ได้ฆ่า ท่านสอนไว้ถึง "อกรณียกิจ" (กิจที่ไม่ควรทำ) คือ ค้าอาวุธ ค้าสัตว์เป็น ค้าเนื้อสัตว์ ค้าน้ำเมา และค้ายาพิษ ถ้าทำอยู่ควรเลิก ในสังสารวัฏนี้มีการเบียดเบียนกัน ให้เราเร่งปฏิบัติให้หลุดพ้น โดยเริ่มจากศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเรารักษาศีล เราก็จะไม่กังวลไม่ร้อนใจ

    Q : อสังขารธรรมมีความหมายว่าอย่างไร?

    A : คือ ธรรมที่ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีอะไรปรุงแต่งมันได้ คือ อสังขตธรรม คือ นิพพาน


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show more Show less
    55 mins
  • เครื่องหมายของความไม่เที่ยง [6742-7q]
    Oct 19 2024

    Q : อาฏานาฏิยรักษ์คาถาป้องกันภัย (ยักษ์) ของท้าวเวสสุวรรณ

    A : เป็นคาถาที่ท้าวเวสสุวรรณท่านยกย่องพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ เพื่อรักษาป้องกันไม่ให้ยักษ์เบียดเบียนเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย

    Q : การมีปิติเป็นภักษาหารเหมือนอาภัสสรเทพนั้น เป็นอย่างไร?

    A : อาหาร หมายถึง การที่ให้รูปคงอยู่ดำเนินไปได้ เช่น มนุษย์หากจะให้กายดำเนินต่อไปได้ต้องกินอาหารคือคำข้าว เพราะมนุษย์มีกายหยาบก็ต้องกินอาหารคือคำข้าวที่ประกอบด้วยธาตุ 4 ส่วนอาภัสสรพรหม อยู่ในรูปภพมีอาหารเป็นรูปละเอียดคือปิติ

    Q : การนอนอย่างตถาคตคือการนอนแบบใด?

    A : การนอนอย่างตถาคตคือการนอนด้วยสมาธิอยู่ในฌานทั้ง 4 เริ่มจากก่อนที่จะนอนไปจนถึงก่อนที่จะตื่น โดยก่อนที่จะนอนให้กำหนดสติสัมปชัญญะน้อมไปเพื่อการนอน ว่าบาปอกุศลกรรมทั้งหลาย อย่าได้ติดตามเราไปผู้ซึ่งนอนอยู่และกำหนดจิตไว้ว่ารู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที

    Q : อนุตตริยะ 3 ประการ มีอะไรบ้าง?

    A : ประการแรกคือ การเห็นอันยอดเยี่ยม (ทัสสนานุตตริยะ) การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม (ปฏิปทานุตตริยะ) และการพ้นอันยอดเยี่ยม (วิมุตตานุตตริยะ)

    Q : ความไม่เที่ยงในผัสสายตนะ 6 เป็นอย่างไร?

    A : เราจะดูว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยงได้ด้วยการดู ที่ถ้ามันอาศัยเหตุเกิด เหตุนั้นคือเครื่องหมายของความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เกิดได้ดับได้คือสภาวะที่เป็นทุกข์ไม่เที่ยง


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show more Show less
    56 mins
  • จิตเป็นอนัตตา [6741-7q]
    Oct 12 2024
    Q : การวางน้ำให้ผู้ล่วงลับจะได้รับหรือไม่ และมีในคำสอนหรือไม่?A : การรับอาหาร จะมีเปรตประเภท “ปรทัตตูปชีวิเปรต” ที่จะรับอาหารเหล่านั้นได้ นอกนั้นรับไม่ได้ เพราะสัตว์แต่ละประเภท ก็จะมีอาหารที่แตกต่างกัน อาหารเราควรถวายแด่พระสงฆ์ ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญจะดีกว่า เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ที่ควรรับทักษิณาทาน เกิดบุญแล้วก็อุทิศบุญ ให้กับญาติพี่น้องของเราและเราก็จะได้บุญด้วยQ : จิตกับความเป็นอนัตตาA : จิตเป็นอนัตตา หมายถึง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวมันเอง แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัย ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ไม่ใช่สุดโต่ง 2 ข้าง คือ นัตถิตา (ปฏิเสธว่ามันไม่ใช่ของเรา) หรืออัตถิตา (ของเราทั้งหมด) แต่เป็นการยอมรับว่า มันเป็นไปตามเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ถ้ามันมีเหตุเกิด มันก็เกิด พอเราเห็นตามจริง เข้าใจด้วยปัญญา ว่ามันเป็นอนัตตา เราจะละความยึดถือได้ เมื่อเราละได้ ก็จะตัดกระแสความยึดถือ ตัดกระแสความเกิดดับ มันก็จะไม่วน ไม่ไปต่อ คือ ตัดกระแสของจิตที่มันจะไปยึดถือได้Q : บรรลุธรรมแล้วจะเป็นอย่างไร?A : เมื่อตัดกระแสความยึดถือได้ ก็จะเหลือร่างกายนี้ที่ยังอยู่ เปรียบดังต้นไม้ที่มันตายแล้ว แต่ยังเหลือซากอยู่ ซึ่งพอกายนี้ แตกดับไปก็จะไม่เจออีก ภพนี้เป็นภพสุดท้าย จะไม่มีการเกิดต่อไปQ : จิตที่ไปเสวยสุขทุกข์ในสวรรค์ หรือนรกเป็นของเราหรือไม่?A : การที่คิดว่าจิตเป็นของเรานั้นเป็นการเข้าใจผิด เพราะจิตเป็นกระแสเกิดดับตามเหตุปัจจัย เป็นอนัตตาQ : ความเข้าใจเรื่องมานะในโลกสมมุติกับวิมุตติA : สมมุติกับวิมุตติ เป็นระบบที่ต้องอยู่ด้วยกัน คู่ขนานกัน ในเรื่องของโลก เป็นเรื่องของหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เรื่องเหนือโลกเป็นเรื่องของอนัตตา การปล่อยวาง เราต้องใช้ระบบสมมุติเพื่อให้เข้าถึงวิมุตติ อาศัยการปรุงแต่ง เพื่อให้เข้าถึงการไม่ปรุงแต่ง ซึ่งการปรุงแต่งที่ควรทำให้เจริญคือมรรค 8 เพราะทำแล้วการปรุงแต่งระงับลง กิเลสจะลดลง จะไปถึงวิมุตติหลุดพ้นได้Q : ช่วงไหนเป็นวิตกหรือสังกัปปะในพระพุทธเจ้าขณะพิจารณาว่าจะแสดงธรรมหรือไม่?A : อาจเป็นไปได้ทั้งดำริ (สังกัปปะ) และวิตก (...
    Show more Show less
    57 mins
  • ชนะมารด้วยความดี [6740-7q]
    Oct 5 2024
    Q : บทสวดธรรมจักรA : เป็นพระสูตรที่ท่านเทศน์ครั้งแรกให้เหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ฟัง เมื่อได้ฟังแล้ว มีท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมเป็นองค์แรก เหล่าเทวดาเปล่งวาจาว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไม่มีใครที่จะหมุนทวนกลับได้” ส่วนบทสวดที่บางเล่มสั้นบางเล่มยาว ต่างกันตรงส่วนที่กล่าวถึงเหล่าเทวดาแต่ละชั้นตั้งแต่ชั้นแรกขึ้นไป ได้เปล่งวาจาร่ำลือกัน Q : แม่พระธรณีA : ในคาถาธรรมบท ตอนที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ มารจะไล่ท่านให้หนีจากที่นั่งนั้น ท่านปฏิญาณไว้ว่าจะไม่หนี พอมือท่านแตะธรณี ท่านได้ระลึกถึง ทานบารมี ศีลบารมี ที่เคยทำ พูดถึงว่า พระแม่ธรณีเป็นพยาน น้ำที่เคยกรวดไว้เป็นพยาน ว่าบารมีที่ท่านทำมาเต็มแล้ว ท่านสู้ด้วยความดี ด้วยบารมีที่ท่านทำ จึงเอาชนะมารได้ ไม่แพ้ไปตามอำนาจของมาร Q : การบวชเณรเป็นพระA : ถ้าคนที่มาบวชอายุไม่ถึง 20 ปี จะบวชเป็นพระไม่ได้ เว้นแต่พระพุทธเจ้าบวชให้ และมีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่จะบวชให้คนที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี บวชเป็นพระได้ และท่านไม่เคยบวชเณรให้ใคร Q : อานิสงส์ของบุญA : หากทำอะไรแล้วได้อย่างนั้น เป็นความคิดที่ผิด การประพฤติพรหมจรรย์จะมีไม่ได้การทำที่สุดแห่งทุกข์จะไม่ปรากฏ แต่ที่ถูกคือเมื่อคุณทำอะไรไว้คุณจะได้รับผล (วิบาก) ของการกระทำนั้น กรรมกับวิบากเป็นคนละอย่างกัน เป็นอจินไตย ให้เราตั้งจิตเราเป็นกุศล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วแน่นอน Q: การให้ทานA: ต้องรู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ ไม่เบียดเบียนตนเอง ดูความพร้อมทั้ง 3 ประการของผู้ให้ และ 3 ประการของผู้รับ Q: มีมือชุ่มอยู่เสมอA: การดำเนินชีวิตสมัยก่อนมือเปื้อน พอมีคนมาขออาหารก็ต้องล้างมืออยู่เสมอ จึงเป็นประเพณีที่ว่ามือชุ่มอยู่เสมอเพราะว่าให้อยู่เรื่อย พร้อมที่จะทำบุญอยู่เสมอ Q : การทำงานA : หลักธรรมที่นำมาใช้คืออิทธิบาท 4 ท่านให้เอาสิ่งที่เราจะทำเป็นประธานสังขาร มีสมาธิ และอิทธิบาทสี่ ประกอบเอาไว้ ในลักษณะที่จะไม่ย่อหย่อน ไม่เข้มงวดเกินไป ไม่สยบในภายใน (คือไม่เพลินไปในสมาธิ ไม่เพลินไปในเรื่องของกาม) ...
    Show more Show less
    54 mins