7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

By: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
  • Summary

  • การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    2024 panya.org
    Show more Show less
activate_Holiday_promo_in_buybox_DT_T2
Episodes
  • ด้วยอำนาจของการผูกเวร [746-7q]
    Nov 16 2024
    Q : ลอยกระทงกับศาสนา A : ลอยกระทงเป็นประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแนวทางคำสอน คือท่านได้บัญญัติการจำพรรษาของพระภิกษุจะมี 2 ห้วงเวลา คือ 3 เดือนแรกของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากวันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา หรือ 3 เดือนท้ายของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากหนึ่งเดือนหลังจากเข้าพรรษาถึงวันลอยกระทง ซึ่งเป็นวันออกพรรษาของพรรษาหลัง Q : ผูกเวร ผูกใจ ตัดขาดไม่ข้ามชาติได้หรือไม่?A : สิ่งที่จะติดตัวเราไปข้ามภพชาติได้คือบุญและบาป ทรัพย์สินเงินทองไม่สามารถข้ามภพชาติได้ ส่วนจะมีภพหน้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด หากมีเหตุปัจจัยให้ไม่เกิดก็ไม่เกิด (พระอรหันต์) การผูกเวร แม้เราจะทำดีแล้วปฏิบัติดีแล้ว เขาก็ยังผูกเวรกับเรานั้น นั่นเป็นเรื่องของวัฏฏะ สิ่งที่เราควรทำ คือเดินตามมรรค 8 รักษาจิตให้เป็นกุศล หากเรายังมีความอยากที่จะไม่เจอเขาอีก นั่นแสดงว่าเรามีตัณหาแล้ว Q : ฟังธรรมกับการทำมาหากินเกี่ยวกันอย่างไร?A : ท่านพูดถึงดวงตา 3 ดวง คือ 1) มีดวงตาเห็นช่องทางในการหาทรัพย์ 2) ดวงตาที่หาทรัพย์ด้วยความสุจริต 3) มีดวงตาที่จะเห็นอริยสัจสี่ หากเราเห็นแค่ดวงใดดวงหนึ่งก็ไม่ได้แปลว่าผิด เพียงแต่เป็นการที่เห็นไม่รอบด้าน ซึ่งการทำมาหากินกับการฟังธรรมสามารถทำไปด้วยกันได้ อันไหนที่เราทำได้ให้ทำก่อนแล้วค่อย ๆ ทำเพิ่ม Q : สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรคืออย่างไร?A : คือสมัยที่บำเพ็ญเพียรแล้วจะได้ผลน้อย คือ 1) ความแก่ชรา 2) ความอาพาธ 3) อาหารหาได้ยาก คือคนก็จะไปตามที่ที่มีอาหารหาง่าย คนก็จะปะปนกันมาก การจะทำความเพียรทำในใจซึ่งคำสอนก็จะทำได้ยาก 4) มีภัยกำเริบ คือมีกบฏโจรปล้นเมือง 5) การที่มีสงฆ์แตกกัน ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเอาข้อเหล่านี้มาเป็นข้ออ้างในการทำความเพียร ที่ท่านพูดคือเพื่อเตือนถึงภัยในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ให้เราเร่งความเพียรในตอนนี้ เพื่อที่เมื่อเกิดภัยนั้นขึ้นแล้ว เราจะยังเป็นผู้อยู่ผาสุกได้ Q : ทำไมคนดีตายง่าย คนชั่วตายยาก?A : มันเป็นเรื่องของกรรม หากเราคิดให้เขาได้ไม่ดี เป็นความคิดที่ไม่ดี ให้เราคิดดี พูดดี ทำดี มีเมตตา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Show more Show less
    58 mins
  • สัมมาทิฐิที่เนื่องด้วยโลกและเหนือโลก [6745-7q]
    Nov 9 2024
    Q : ความหมายและความต่างระหว่างโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะA : เป็นอาบัติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ “โลกวัชชะ” คือ อาบัติที่เมื่อทำผิดพระวินัยแล้วจะเกิดอกุศลในจิตแน่นอน ส่วน “ปัณณัตติวัชชะ” คือ อาบัติทางพระบัญญัติ ที่อยู่ที่จิตขณะนั้น หากจิตขณะนั้นเป็นอกุศลจึงจะมีโทษ Q : ความหมายของ “พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบนั้น ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ เป็นของหมดจดวิเศษแล้วพระนิพพานนั้นอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ” A : พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบ หมายถึง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ หมายถึง หมู่ผู้ที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมเห็นนิพพานด้วยญาณคือปัญญา / พระนิพพานอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ หมายถึง บัณฑิตทั้งหลายเขาจะเห็นอย่างนี้เหมือนกัน Q : เปรียบเทียบการให้ทานด้วยอาหารกับ ศีล สมาธิ ปัญญา?A : การให้ทานด้วยอาหารให้ผลน้อยเพราะไม่สามารถทำได้ตลอด ไม่เหมือนกับการรักษาศีล ภาวนา ที่สามารถทำได้ตลอดเวลา ทำได้ในทุกอิริยาบถ Q : ศรัทธากับสัมมาทิฐิอันไหนมาก่อนกันA : ทั้งศรัทธาและสัมมาทิฐิ ต่างเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากเรามีศรัทธาที่เป็นสัมมาทิฐิ เราก็จะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มีความเพียร ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาได้ Q : การวางจิตเมื่อแสดงธรรมแก่ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า A : การที่เราแสดงธรรมไปตามเนื้อหาที่ท่านประกาศไว้ เราไม่ต้องกังวล ถ้าเราศึกษามาเป็นอย่างดี เพียงแต่ระวัง ไม่พูดผิด ไม่พูดกระทบตนเอง ไม่พูดกระทบผู้อื่น ไม่ว่าจะพูดให้ใครฟังก็สามารถทำได้ Q : พระอรหันต์ทำผิดได้หรือไม่?A : ท่านไม่ได้รู้ทุกเรื่อง เราสามารถแสดงความเห็นต่อท่านได้ ถ้าเราเป็นผู้น้อยก็ขอโอกาสท่าน พูดด้วยจิตที่มีเมตตา ด้วยความเคารพ นอบน้อม สิ่งไหนควรติเตียนก็ติเตียน สิ่งไหนควรยกย่องก็ยกย่อง ให้ดูที่พฤติกรรมไม่ใช่ที่ตัวบุคคล รักษาจิตของเราให้ตั้งอยู่ในกุศล Q : NO PAIN NO GAINA : มี 2 พุทธพจน์ คือ “เห็นทุกข์จึงจะเห็นธรรม” และ “ขึ้นชื่อว่าความสุขความสำเร็จแล้ว ใครๆจะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี ความสุขความสำเร็จเป็นสิ่งที่ใครๆ บรรลุได้ด้วยความลำบาก” ...
    Show more Show less
    56 mins
  • คนต่างกันเพราะกรรม [6744-7q]
    Nov 2 2024
    Q : เหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกันA : กรรมเป็นตัวจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีตกรรมทำให้คนไม่เท่ากันแม้ทำกรรมอย่างเดียวกันก็อาจได้รับผลไม่เท่ากันสิ่งที่เราควรทำ คือทำความดีให้มาก ไม่ว่าในตอนนี้เราจะได้ผลของกรรมอย่างไรให้เราหมั่นสร้างบุญกุศลทำความดี ทั้งทางกาย วาจาใจผลของกรรมที่ไม่ดีมันก็จะเบาลงๆ Q : การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยากA : ท่านเปรียบดังเต่าตาบอด อยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยน้ำ ทุกร้อยปีจะขึ้นมาหายใจ แล้วเอาหัวซุกเข้ารูได้ ความยากนี้เหมือนคนที่ไปอบายทั้ง 4 แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกนั้นยากมาก Q : ฆ่าตัวตายเป็นบาป?A : ไม่แน่ ส่วนใหญ่แล้วถือว่าไม่ดี หากฆ่าตัวตายแล้วสามารถพ้นกิเลสได้ ท่านถือว่าการตายนี้เป็นการตายที่ไม่น่าติเตียน แต่บางกรณีก็ได้รับการติเตียน เพราะไม่แยบคายมีอวิชชา Q : ความต่างระหว่างฉันทะกับตัณหาA : ฉันทะ คือ ความพอใจ มีใช้ทั้งในส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ใช้ในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมเท่านั้น เราสามารถสร้างฉันทะที่เป็นกุศล ได้ด้วยการอาศัยศรัทธาและปัญญา พอมีมีศรัทธาก็จะทำให้เกิดความเพียร ฟังธรรม ไคร่ครวญธรรม เกิดปัญญา ก็จะเกิดฉันทะที่เป็นกุศลขึ้น Q : ขจัดริษยาA : เราต้องละความอยากคือตัณหา ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเห็นคนอื่นเขาได้ดีแล้วเรายินดีกับเขาเราก็จะละความอิจฉาริษยาไปได้ Q : หลงตนเพราะอะไร?A : เพราะเราไม่มีวิชชาคือความรู้ ที่จะแยกได้ว่า สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ความรู้สึกที่ว่าตัวเราของเรา มันจึงมาจากอวิชชา เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุ เราจะมีความรู้แยกแยะถูกผิดได้ เราต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เราจึงจะมีวิชชา (ความรู้) และวิมุต (ความพ้น) ได้ Q : ความจริงกับความเชื่อA : ตัณหาขันธ์ 5 มรรค 8 ทั้งหมดนี้ ไม่เที่ยงเหมือนกัน เราต้องรู้จักแยกแยะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน กิจที่เราควรทำคือสิ่งไหนที่เป็นอกุศลเราต้องละ ขันธ์ 5 เราต้องยอมรับ มรรค 8 เราควรทำให้มาก ทำให้เจริญ เพราะมันประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ถ้าเราไม่ทำแล้วมันจะพาเราไปทางเสื่อม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Show more Show less
    55 mins

What listeners say about 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Average customer ratings

Reviews - Please select the tabs below to change the source of reviews.